การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

Release Date : 11-12-2016 00:00:00

การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานน้ำหลวง ต้องมีตำแหน่งชั้นและยศ ดังต่อไปนี้ 

1.  พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น "พระครูสัญญาบัตร" ขึ้นไป

2.  พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น "หม่อมเจ้า" ขึ้นไป

3.  ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์

4.  ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขั้นไป

5.  ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป

6.  พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป

7.  ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ "เบญจมดิเรกคุณาภรณ์" (บ.ภ.)

และ "เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย" (บ.ม.) ขึ้นไป

8.  ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "จุลจอมเกล้า" (จ.จ.) หรือ

"ตราสืบตระกูล" (ต.จ.) ขึ้นไป 

9.  ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ "รัตนาภรณ์" รัชกาลปัจจุบัน

10.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาร่างรับฐธรรมนูญ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรม

11.  รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม

12.  ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นกรณีพิเศษ

หมายเหตุ บุคคลผู้ทำลายชีวิตตนเอง ไม่พระราชทานเพลิงศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศ


ขั้นตอนการขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

                  เจ้าภาพหรือทายาท จะต้องจัดดอกไม้กระทง 1 กระทง ธูปไม้ระกำ 1 ดอก เทียน 1 เล่ม มีพานรองพร้อมไปทราบถวายบังคมลา พร้อมด้วยหนังสือกราบบังคมทูลลา โดยติดต่อที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา8.30  ถึง 16.30 นทุกวัน ไม่เว้น วันหยุดราชการ ร้อมทั้งนำใบมรณบัตร และหลักฐานที่ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดไปแสดงแก่ เจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี เพื่อการจัดชั้นของเครื่องเกียรติยศประกอบศพได้ถูกต้อง

                 ส่วนพระสงฆ์สมณศักดิ์  ไม่ต้องมีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นหน้าที่ของกรมศาสนาหรือ ผู้ได้รับมอบหมายแจ้งการมรณภาพ และขอพระราชทาน


             อนึ่ง สำนักพระราชวังได้มีคำสั่งให้กองพระราชพิธี ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการศพ ของผู้ที่ได้รับพระราชทาน เครื่องเกียรติยศประกอบศพชั้นโกศ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2538  ไว้ดังนี้

กองพระราชพิธี

                เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ถึงแก่กรรม ได้รับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพชั้นสูง ในระดับพระราชทานโกศ แต่ทายาทรับ คำสั่งจาก ผู้ที่ถึงแก่กรรมว่า มีความประสงค์ให้บรรจะลงหีบ แล้วขอพระราชทานโกศประกอบเกียรติยศ ครั้นถึงกำหนดการขอพระราชทานเพลิงศพ ทางเจ้าหน้าที่ กองพระราชพิธี ไม่ยินยอมให้ตั้งโกศบนจิตกาธานโดยปราศจากร่างของผู้ถึงแก่กรรม เลขาธิการพระราชวังได้ปรึกษากับผู้รู้พิจารณาว่า ควรที่จะยินยอมให้ตั้งโกศ ตามเกียรติยศของผู้ตาย บนจิตกาธานได้ ๊ในกรณีที่ศพของผู้ตายบรรจุหีบ โดยนำหีบใส่ไว้ในเตาเผาก่อนถึงเวลาพิธีการ โดยเหตุผลที่ว่า โกศเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศของผู้ตาย  และเป็นเครื่องหมายแห่งผลของการที่ได้ปฏิบัติราชการ หรือการที่ได้ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองมาตลอด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีร่างของผู้ตายอยู่ในนั้น ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                       นายแก้วขวัญ วัชโรทัย 

                                                                             เลขาธิการพระราชวัง

   
                                                                               4  สิงหาคม  2538